วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552
คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
1. ความหมายของคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาปัจจุบันมีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องระหว่างคอมพิวเตอร์และการศึกษาคือ "คอมพิวเตอร์ศึกษา" (Computer Education) หมายถึง การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ เช่น การเขียนภาษาโปรแกรมต่าง ๆ การผลิต การใช้ การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware) และซอฟแวร์ (Software) รวมถึงการศึกษาวิธีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อกิจการด้านต่าง ๆสรุปแล้วการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการด้านการศึกษา ประกอบด้วยงานหลัก 4 ระบบ1. คอมพิวเตอร์เพื่อบริหารการศึกษา (Computer for Education Administration) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารงานด้านการศึกษาประกอบด้วยครู ผู้เรียน และเจ้าหน้าที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เป็นต้น2. คอมพิวเตอร์เพื่อบริการการศึกษา (Computer for Education Service) หมายถึง การบริการการศึกษา ด้านต่าง ๆ เช่น การบริการสารสนเทศการศึกษา3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน (Computer Assisted Instruction) หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่างๆ4. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นการศึกษา การสอน/การฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โดนตรงรวมทั้งการประยุกต์ใช้ และเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และ ICT ที่มา http://vod.msu.ac.th รศ.ดร.ไชยยศ เรืองสุวรรณ2. วัตถุประสงค์ของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาโดยทั่วไปมี 3 ลักษณะคือ1.ใช้เพื่อทบทวนบทเรียน2.ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียน3.ใช้เป็นเครื่องมือฝึกที่มา http://vod.msu.ac.th รศ.ดร.ไชยยศ เรืองสุวรรณ3. ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบทั่วไปของคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้1. หน่วยรับข้อมูล input Unit เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าสู่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)เพื่อทำการประมวลต่อไป2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างภายในคอมพิวเตอร์3. หน่วยแสดงผล Output Unit เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล ซึ่งมีรูปแบบการแสดงผลอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ และแบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ที่มา http://www.obec.go.th ครูสมเกียรติ แสนป้อ4. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน4.1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน โดยที่เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด และแบบทดสอบจะถูกพัฒนาขึ้นในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ1) สามารถเรียนแบบการสอนได้ และ2) มีสมรรถภาพในการรวบรวมสารสนเทศและข้อมูลต่าง ๆ 4.2. หลักการของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประกอบด้วย1. ใช้เป็นรายบุคคล (Individualized) ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ออกแบบเพื่อใช้ส่วนบุคคล นับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ผลดีที่สุด2. มีการตอบโต้อย่างทันที (Immediate Feedback)3. เป็นกระบวนการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน (Track Learners Process)4. ปรับให้ทันสมัยได้ง่าย (Each of Updating)5. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ไม่สามารถทำงานได้ทุกอย่างเหมือนคน ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาเป็นส่วนนึ่งหรือช่วยสอนเท่านั้น การแก้ปัญหาเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการเขียนโปรแกรมให้สอดคล้องกับหลักจิตวิทยา6. การเขียนโปรแกรมที่ดีต้องอาศัยความชำนาญอย่างมากที่มา http://vod.msu.ac.th รศ.ดร.ไชยยศ เรืองสุวรรณ5. การวัดประเมินผลคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในการวัดประเมินบทเรียน มีขั้นตอนในการพิจารณาอยู่ 3 ขั้น คือ1. การประยุกต์ใช้ 1.1 บทเรียนนี้ออกแบบและผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในหลักสูตรวิชาอะไรและในหลักสูตรนี้ ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์พิเศษเฉพาะจากบทเรียนนี้อย่างไรบ้าง1.2 บทเรียนนี้บทบาททางการศึกษาอย่างไรบ้างเป็นบทเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยตรงหรือเป็นบทเรียนที่ใช้ประกอบหรือเสริมการเรียนเท่านั้น ถ้าบทเรียนนี้มีบทบาทเพียงเพื่อเสริมการเรียนการสอน มีสื่อหรือกิจกรรมการสอนอื่นที่ออกแบบไว้ให้บทเรียนสนับสนุนหรือไม่1.3 บทเรียนนี้ออกแบบมาสำหรับผู้เรียนนะดับใดและผู้เรียนควรมีความรู้เบื้องต้นระดับใดและอย่างไรบ้าง1.4 บทเรียนนี้ควรใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใด2. การใช้โปรแกรม2.1 ประสิทธิผลทางการเรียนการสอน การที่จะวัดประสิทธิผลทางการเรียนการสอนของบทเรียนนั้นเราจะต้อง1) วิเคราะห์คุณลักษณะของบทเรียน2) วิเคราะห์แนวปฏิบัติของครูในการใช้บทเรียนนั้น3) ทบทวนประสิทธิผลของบทเรียนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนตามจุดประสงค์การเรียน2.2 การบำรุงรักษาบทเรียน ในการประเมินเกี่ยวกับการบำรุงรักษาบทเรียนนี้จะเน้นในเรื่องการปรับปรุงบทเรียนให้เข้ากับสภาพการสอน ว่าทำได้หรือไม่เพียงใดทั้งนี้เนื่องจาก มีบางบทเรียนที่เปิดโอกาสให้ครูดัดแปลงเพิ่มเติมตัดบางส่วนออกหรือจัดลำดับใหม่ได้ เพื่อให้ครูสามารถดัดแปลงบทเรียน ให้สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียนบางคนได้2.3 ความสะดวก ความสะดวกของบทเรียนในที่นี้หมายถึงการที่เราสามารถใช้บทเรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นต่างๆ ได้เช่น เล่นได้ทั้งเครื่อง XTAT และหรือจอภาพสี3. ราคาการเปรียบเทียบราคาของบทเรียน อาจจะพิจารณาได้ยากเพราะมีข้อจำกัดเช่น เรื่องเวลา ความต้องการในการใช้บทเรียนและประสบการณ์ของผู้ใช้เป็นต้น นอกจากนั้น การผลิตบทเรียนเรื่องเดียวกันจากผู้ผลิตหลายๆ แหล่งนั้นมีน้อย ดังนั้น การพิจารณาเปรียบเทียบในเรื่องราคาของบทเรียนจึงอยู่ในดุลยพินิจของผู้ที่ประสงค์จะใช้บทเรียนนั้นๆพิจารณาเองที่มา http://vod.msu.ac.th รศ.ดร.ไชยยศ เรืองสุวรรณ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)